ใช้เครื่องพันฟิล์มอย่างไรให้ประหยัดไฟมากที่สุด

เครื่องพันฟิล์มเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับแพ็คสินค้าที่ต้องการนำไปจัดเก็บหรือจัดส่งสินค้าคราวละมาก ๆ อำนวยความสะดวกในการทำงานให้คุณได้มากทีเดียว แต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่นนี้เมื่อมีการใช้งานก็ย่อมสิ้นเปลืองไฟฟ้าอย่างแน่นอน ไม่มากก็น้อย ยิ่งมีความเป็นอัตโนมัติมากเท่าใดก็ยิ่งใช้ไฟมากเท่านั้น หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าในระยะเวลานาน ๆ ค่าไฟที่ต้องจ่ายนั้นก็คิดเป็นจำนวนเงินมหาศาลอยู่ ยิ่งค่าไฟฟ้ามีการปรับตัวสูงขึ้นอยู่ตลอดไม่มีแนวโน้มจะลดลงด้วยอย่างนี้แล้ว มาหาวิธีการใช้งานเครื่องพันฟิล์มให้ประหยัดไฟไว้ดีกว่า

การใช้เครื่องพันฟิล์มให้ประหยัดไฟฟ้า คุณก็ต้องทราบก่อนว่าการใช้ไฟฟ้ามาจากส่วนใดบ้าง การใช้ไฟฟ้าของเครื่องพันฟิล์มนั้นแทบทั้งหมดมาจากการทำงานของมอเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ส่วนการหมุนพาเลท หรือมอเตอร์ส่วนของการพันฟิล์ม อีกเล็กน้อยมาจากส่วนของการแสดงผล หรือควบคุมการทำงานซึ่งไม่ได้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากซักเท่าใดอยู่แล้ว ดังนั้นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าจึงมุ่งไปที่การทำงานของมอเตอร์เป็นหลักได้เลย

มอเตอร์ของเครื่องพันฟิล์มถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ตามข้อจำกัด ในเรื่องของน้ำหนักสินค้าที่กดทับบนจานหมุนอยู่แล้ว โดยช่วงที่กำหนดจะถูกกำหนดไว้ว่ารับน้ำหนักสูงสุดได้เท่าใด เมื่อคุณต้องใช้งานจึงไม่ควรแพ็คสินค้าในปริมาณที่มากเกินกำหนด เพราะแกนมอเตอร์จะทำงานได้ช้าลงจากน้ำหนักที่มากเกินไปนั้น จนทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นกับมอเตอร์ พลังงานไฟฟ้าไม่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานกลจากการหมุนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กลับถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนแล้วแผ่ออกไปยังอากาศรอบข้าง ผลอย่างนี้แหละที่ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า และตามมาด้วยความเสียหายของมอเตอร์เอง น้ำหนักที่เหมาะสมควรเป็น 60 – 80% ของน้ำหนักสูงสุดที่รับได้จะดีที่สุด

การบรรจุสินค้าที่เบาเกินไปก็ไม่ควร แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อมอเตอร์ของเครื่องพันฟิล์มแต่มีผลกับค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้น การใส่สินค้าน้อยชิ้นทำให้ต้องเพิ่มจำนวนครั้งในการแพ็คมากขึ้น และแน่นอนว่าการใช้งานเครื่องพันฟิล์ม 2 ครั้งก็ย่อมสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากกว่าการใช้งานเพียงครั้งเดียวอยู่แล้ว นี่จึงเป็นเหตุผลที่คุณควรแพ็คสินค้าด้วยน้ำหนักที่เหมาะสมไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป

การเลือกจำนวนรอบในการพันที่น้อยเกินไปทำให้มอเตอร์ทำงานหนักขึ้น การทำงานของมอเตอร์นั้นจะมีการใช้ไฟมากที่สุดขณะเริ่มหมุนและขณะหยุดหมุน ซึ่งเป็นช่วงที่มอเตอร์มีการเปลี่ยนความเร็ว แต่ในขณะที่หมุนด้วยความเร็วคงที่นั้นจะมีการใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุด การพันฟิล์มด้วยรอบที่น้อยเช่น 1 – 2 รอบทำให้เครื่องพันฟิล์มเริ่มทำงานปุ๊บก็เตรียมหยุดการทำงานปั๊บ ลักษณะอย่างนี้แหละที่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าสุด ๆ เมื่อพันน้อยรอบก็มีโอกาสที่การแพ็คนั้น อาจหละหลวมจนหลุดลุ่ยออกจนต้องทำการแพ็คใหม่ซึ่งก็เป็นการใช้งานเครื่องเพิ่มขึ้นอีก ค่าไฟฟ้าจึงเพิ่มขึ้นอย่างไรล่ะ คุณควรใช้จำนวนรอบตั้งแต่ 5 รอบขึ้นไปเพื่อการประหยัดไฟและความแน่นหนาของแพ็คสินค้า

ไม่ยากเลยใช่ไหมสำหรับแนวทางการใช้เครื่องพันฟิล์มให้ประหยัดไฟมากที่สุด

Share This Article:

Be the first to comment “ใช้เครื่องพันฟิล์มอย่างไรให้ประหยัดไฟมากที่สุด”